หน่วยที่ 9 การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ลักษณะอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
               ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป
2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
  การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น
3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา
5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง

    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

การเข้า Sate Mode เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากซอฟ์แวร์
กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของวินโดวส์แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า ?Missing Operation System? สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา ให้สำรวจการใช้งานก่อน ว่าได้มีการลบไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ปัญหานี้มันเกิดจากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไป  เนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอสเอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR, DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์ COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่ยังต้องอิงกับระบบดอสอยู่มาก

วิธีแก้ไขก็คือ

ให้บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นพิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง ก๊อปปี้ไฟล์ระบบลงไปในไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้จะพบว่าสามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แล้ว 


การแก้ไข้ปัญหาแบบต่างๆ ที่อาจเกิดกับคอมพิวเตอร์
    อาการเสียของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายสาเหตุ สามารถวิเคราะห์อาการเสียเบื้องต้นได้ดังนี้
         อาการบูตเครื่องขึ้นมาแล้วทุกอย่างไม่ทำงานและเงียบสนิทให้ตรวจสอบที่พัดลมด้านท้ายเครื่องว่าหมุนหรือไม่หากไม่หมุนอาจเป็นไปได้ว่าปลั๊กไฟเสีย หรืออาจขาดใน และให้เข้าไปเช็คที่ฟิวส์ของเพาเวอร์ซัพพลาย หากฟิวส์ขาดให้ซื้อฟิวส์รุ่นเดียวกันมาเปลี่ยน แต่ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายเสีย ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายใหม่
       อาการบูตเครื่องแล้วจอมืดแต่ไฟLEDหน้าจอและไฟเคสติดให้ตรวจสอบที่ปุ่มการปรับสีและแสงที่หน้าจอก่อน จากนั้นจึงเช็คในส่วนของขั้วสายไฟ และขั้วสายสัญญาณระหว่างเคสและจอภาพ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะเสียบการ์ดจอไม่แน่นหากตรวจเช็คอาการเหล่านี้แล้วทุกอย่างเป็นปกติดีสาเหตุน่าจะเกิดจากการ์ดแสดงผลและจอภาพให้นำอุปกรณ์ทั้ง2ตัวไปลองกับอีกเครื่องหนึ่งที่ทำงานเป็นปกติ หากการ์ดแสดงผลเสียต้องส่งเคลมหรือให้ลูกค้าเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นจอภาพ ให้ตรวจเช็คอาการอีกครั้ง ถ้าซ่อมได้ก็ควรซ่อม

  อาการบูตเครื่องแล้วมีไฟที่หน้าเคสและไฟฟล็อบปี้ไดรฟ์แต่จอมืดและทุกอย่างเงียบสนิทให้ตรวจสอบที่การเชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสายไฟของเพาเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบสายแพที่เชื่อมต่อกับขั้วต่อ IDE ของฮาร์ดดิสก์, ฟล็อบปี้ดิสก์ และซีดีรอม ถูกต้องหรือไม่ หลุดหลวมหรือไม่ตรวจสอบการติดตั้งซีพียูว่าใส่ด้านถูกหรือไม่ ซีพียูเสียหรือไม่ตรวจสอบจัมเปอร์หรือดิปสวิทช์ และการเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะค่าแรงดันไฟ Vcore
          อาการ ที่จอภาพแสดงข้อความผิดพลาดว่า HDD FAILUREตรวจสอบการตั้งค่าในไบออสว่าถูกต้องหรือไม่ตรวจสอบขั้วต่อ IDE ว่ามีการเสียบผิดด้านหรือไม่ หลุดหลวมหรือเปล่าตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่าเสียหรือไม่ โดยเข้าไปในเมนูไบออส และใช้หัวข้อ IDE HDD Auto Detection ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ถ้าไม่เจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีปัญหาแต่หากเจอแสดงว่าฮาร์ดดิสก์ปกติดี
      อาการ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง บี๊บ...........บี๊บควรตรวจสอบแรมว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่าติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไขเซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด
ปัญหาที่ 1 รู้ได้อย่างไรว่าเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ รองรับอุปกรณ์ Onboard อะไรบ้าง
วิธีแก้ หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มีอุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยก็ไม่ยาก โดยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสำหรับต่อเมาส์ และย์บอร์ด ถ้าหากเมนบอร์ดมีอุปกรณ์Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA, Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที

ปัญหาที่ 2 การ์ดจอ Onboard เสียจะทำอย่างไร
ปัญหานี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะเปิดเครื่องได้เห็นไฟเข้าเครื่องทำงานปกติแต่หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรเลย ผู้ใช้หลายคนนึกว่าเมนบอร์ดเสีย จึงไปหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ทำให้สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ

สาเหตุ เป็นเพราะระบบแสดงผลของชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเสีย ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอ

วิธีแก้ ให้ทำการจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น Disable หรือกำหนดค่าในไบออสให้เป็น Disable ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด แล้วนำการ์ดจอมาติดตั้งลงในสล็อต AGP แทน หากเป็นรุ่นที่ไม่มีสล็อต AGP ก็คงต้องหาซื้อการ์ด PCI มาติดตั้งแทน
ปัญหาที่ 3 เมนบอร์ดมีการ์ดเสียง Onboard ไม่ทำงาน
ปัญหานี้มีลักษณะคล้ายกับปัญหาการ์ดจอ Onboard แต่ส่วนใหญ่การ์ดเสียง Onboard ที่มีปัญหาใช้งานไม่ได้
- สาเหตุ
1. ยังไม่ได้กำหนดให้ใช้งานวงจรเสียงได้จากไบออส
2. ยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับวงจรเสียงดังกล่าว
3. อาจเป็นส่วนของวงจรเสียงในชิปเซ็ตเสีย
- วิธีแก้
1. กำหนดค่าในไบออสโดยเลือกหัวข้อ Integrated Peripherals
2. เลือกหัวข้อ Onboard Hardware Audio และกำหนดค่าเป็น Enabled
3. Save ค่าไว้และออกจากไบออสบู๊ตเครื่องใหม่
4. ใช้แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดติดตั้งไดรเวอร์เสียงลงใน Windows
5. หากติดตั้งแล้วใช้การไม่ได้แสดงว่าส่วนวงจรเสียงเสีย ให้ Disabled ยกเลิกการใช้งานในไบออส แล้วหา                     ซื้อการ์ดเสียงมาติดตั้งใหม่
ปัญหาที่ 4 จะติดตั้งพอร์ต USB ของตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดได้อย่างไร
สาเหตุ เมนบอร์ดทั้วไปมักจะมีพอร์ต USB ติดตั้งมาให้จำนวน 2 พอร์ต โดยจะมีขั้วพอร์ต USB ให้อีก 1 ช่องสำหรับต่อพอร์ต USB ได้อีก 2 พอร์ต ซึ่งพอร์ตต่อเพิ่มพอร์ต USB มักเป็น Options เสริมที่ต้องซื้อเพิ่มเอาเองแต่ในตัวเคสรุ่นใหม่ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างมักจะมีพอร์ตเสริม USB มาให้อีก 2พอร์ต
วิธีแก้ การติดตั้งพอร์ตเสริม USB ของตัวเคสจำนวน 2 พอร์ต เพื่อให้ใช้งานได้จะต้องนำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟจำนวน 8 เส้นมาเสียบต่อเข้ากับช่องต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยจะต้องดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้ยอย่าเสียบผิดสายเพระสาย USB จะมีไฟเลี้ยงอยู่ด้วย จะทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียหายได้ สำหรับขั้นตอนการติดตั้งพอร์ต USB ตัวเครื่องเข้ากับเมนบอร์ดดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องออกมาและหาตำแหน่งขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ด โดยที่ขา 1 จะมีเส้นทึบสีขาวขีดคร่อมอยู่
2. นำสายสัญญาณและสายจ่ายไฟพอร์ต USB จากเมนบอร์ดมาเรียงไว้ โดยสายจะมี 2 ชุด ๆ ละ 4เส้น
3. นำสายทั้ง 2 ชุดเสียบเข้ากับขั้วต่อพอร์ต USB บนเมนบอร์ดโดยดูจากคู่มือเมนบอร์ดประกอบกันด้วยอย่าสลับสายกันเป็นอันขาด

ปัญหาที่ 5 ใช้งานพอร์ต USB 2.0 ผ่านเครื่องพิมพ์ ไม่เห็นความเร็วเพิ่มขึ้น
สาเหตุ พอร์ต USB 2.0 เป็นพอร์ตมาตรฐานเพิ่งออกมาใหม่ รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 480 Mbps หรือเร็วกว่าพอร์ต USB 1.1 ถึง 40 เท่าแต่ใช่ว่าเมื่อเมนบอร์ดรองรับพอร์ต USB 2.0 แล้วจะสามารถใช้งานได้เลย ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ USB 2.0 ให้ถูกต้องเสียก่อน
วิธีแก้ สำหรับวิธีการตรวจดูว่าคอมพิวเตอร์ของเรา ได้ติดตั้งและใช้ความสามารถของพอร์ต USB 2.0แล้วหรือยังมีดังนี้
1. ใน Windows XP ให้คลิกปุ่ม Start>Control Panel>Switch to classic view
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน system
3. คลิกแท็ป Hardware
4. คลิกปุ่ม Device Manager
5. คลิกเครื่องหมาย + หน้า Universal Serial Bus controllers จะพบว่ามีแต่ไดรเวอร์ของ USB 1.1ติดตั้งไว้เท่านั้น สำหรับ USB 2.0 ยังไม่ได้ติดตั้ง (มีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองหน้าตัว Universal Serial Bus (USB) Controller
6. ให้ติดตั้งไดรเวอร์ USB 2.0 โดยการคลิกเมาส์ขวาที่ตัว Universal Serial Bus (USB) Controllerและเลือก Update Driver…
7. เมื่อปรากฏหน้าจอให้ Update Driver ให้ใส่แผ่นซีดีรอมไดรเวอร์ของเมนบอร์ดเข้าเครื่องและคลิกเลือกหัวข้อ Install the software automatically และดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏหน้าจอต่อไป
8. ในขั้นตอนที่ 6 หากต้องการติดตั้งไดรเวอร์ USB จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดโดยตรงก็สามารถทำได้โดยใส่แผ่นไดรเวอร์เข้าไปในเครื่องเพื่อให้รันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้เลือกข้อVIA USB 2.0 Driver และดำเนินการไปตามข้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอไปจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะบู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่
9. ให้เข้าไปตรวจสอบสถานะของไดรเวอร์ USB 2.0 ว่าได้รับการติดตั้งแล้วหรือไม่โดยเข้าไปที่Control Panel ซึ่งจะพบว่ามีไดรเวอร์ของ USB 2.0 ได้รับการติดตั้งแล้วคือ USB 2.0 Root Hubและ VIA USB 2.0 Enchanced Host Controller เพียงเท่านี้เมื่อมีการใช้งานพอร์ต USB 2.0 เช่น สั่งพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์งานเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ผ่านพอร์ต USB 2.0 งานพิมพ์แทบจะวิ่งออกมาทีเดียว

ปัญหาที่ 6 เปิดสวิทซ์แล้วเครื่องไม่ทำงานใด ๆ เลยไฟก็ไม่ติด ไม่มีเสียงร้อง- สาเหตุที่ 1 ปลั๊กPower Supply หลวม
วิธีแก้ ให้ลองขยับปลั๊ก Power Supply ทั้งทางด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์และที่เต้าเสียบให้แน่น
- สาเหตุที่ 2 อาจเป็นที่ Power Supply เสีย
วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่ามีไฟฟ้าออกจาก Power Supply ถูกต้องหรือไม่วิธีสังเกต ถ้าเป็นสายไฟสีแดงจะมีค่า +5 Volt ถ้าเป็นสายสีเหลืองจะมีค่า +12 Volt หรืออาจสังเกตง่าย ๆ ขั้นต้นว่าเมื่อเปิดสวิทซ์นั้นพัดลมที่ติดอยู่กับ Power Supply หมุนหรือไม่ และเป็นไปได้ที่บางครั้ง Power Supply อาจจะเสียแต่พัดลมยังหมุนอยู่ เราอาจจะลองนำ Power Supply ตัวอื่นที่ไม่เสียมาลองเปลี่ยนดูก็ได้ ถ้าเสียก็ซื้ออันใหม่มาเปลี่ยน เอาแบบวัตต์สูง ๆ ก็จะดี

 - สาเหตุที่ 3 เป็นที่เมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ถ้า Power Supply ไม่เสียมีไฟเลี้ยงเข้าเมนบอร์ดตามปกติ ให้ลองเช็คโดยการถอดการ์ดต่าง ๆ และ RAM ออกหมด ถ้าเปิดเครื่องแล้วไม่มีเสียงร้องแสดงว่าเมนบอร์ดหรือ CPU เสีย แต่ถ้ามีเสียงร้องแสดงว่าอุปกรณ์บางตัวที่ถอดออกไปเสีย และถ้าหากเมนบอร์ดเสียให้ส่งที่ร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
- สาเหตุที่ 4 CPU หลวม
วิธีแก้ ส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซีพียูประเภทซ็อคเก็ตสล็อตวัน (Slot 1) และซ็อคเก็ตสล็อตทู (Slot 2) เช่น เพนเทียมทู เป็นต้น ให้เราปิดฝาเครื่องและลองขยับซีพียูที่ดูเหมือนแน่นอยู่แล้วให้แน่นขึ้นไปอีก
- สาเหตุที่ 5 CPU เสีย
วิธีแก้ ลองหา CPU ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนแทน ถ้าใช้ได้ละก็แสดงว่าตัวเก่าเสียแน่นอน
- สาเหตุที่ 6 เป็นที่อุปกรณ์บางตัวเสียทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
วิธีแก้ ให้ลองใส่ตรวจเช็คทีละตัว

ปัญหาที่7 เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องแต่ไม่ยอมทำงานใด ๆ
- สาเหตุที่ 1 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม
วิธีแก้ ถ้าอุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดหลวม จะทำให้กระบวนการเช็คค่าเริ่มต้น (POST) ของBIOS ฟ้องค่าผิดพลาด ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 2 อุปกรณ์บางตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดต่อไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับ RAM ปกติเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาไม่สามารถแสดงภาพออกทางหน้าจอในตอนเริ่มต้นได้ Bios จะพยายามแจ้งอาการเสียผ่านทางเสียงร้องออกทางลำโพงที่อยูภายในเครื่องคอมพ์ ให้เราเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ด
- สาเหตุที่ 3 อุปกรณ์บางตัวที่ต่อกับเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้เราลองเปรียบเทียบค่าสัญญาณ Beep Code จากคู่มือเมนบอร์ดดู
- สาเหตุที่ 4 Chip บนเมนบอร์ดบางตัวเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเครื่อง Beep Code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่

ปัญหาที่ 8 เครื่องทำงานพื้นฐานตามปกติได้แต่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์บางตัวได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้นไม่ได้เสีย
- สาเหตุที่ 1 Chip บางตัวบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ให้ลองไปดูเรื่อง Beep code และถ้าสาเหตุมาจาก Chip บนเมนบอร์ดให้ไปส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip หรือต้องซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ถ้าไม่มีอะไหล่
- สาเหตุที่ 2 สล็อตหรือพอร์ตบางพอร์ตบนเมนบอร์ดเสีย
วิธีแก้ ลองเปลี่ยนการ์ดตัวนั้นไปเสียบสล็อตอื่นที่เหลือแทน แล้วลองทดสอบตามปกติ ถ้าเหมือนเดิมส่งร้านซ่อมหรือซื้อเมนบอร์ดใหม่
- สาเหตุที่ 3 เกิดการ Conflict กับอุปกรณ์ตัวอื่น
วิธีแก้ เข้าไปที่ Device Manager ให้สังเกตว่ามีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) แสดงว่าที่อุปกรณ์ตัวนั้นมีปัญหา ได้ดับเบิ้ลคลิกที่อุปกรณ์ตัวนั้นเพื่อเข้าสู่ Properties จากนั้นลองแก้ไขค่า Resources ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่นครับ
- สาเหตุที่ 4 ไม่ได้ลงไดรเวอร์
วิธีแก้ ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์ลงไป โดยไดรเวอร์มักจะแถมมากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ลองดาวน์โหลดไดรเวอร์จากเว็บไซต์ผู้ผลิตดู
- สาเหตุที่ 5 ลงไดรเวอร์ผิดรุ่น
วิธีแก้ ในบางครั้งที่ระบบปฏิบัติการจะตรวจสอบชนิดและรุ่นของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผลของการตรวจสอบจะคลาดเคลื่อน ทางที่ดีควรตรวจเช็คให้แน่ว่ารุ่นของอุปกรณ์ตรงกับไดรเวอร์ที่ลงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ลงไดรเวอร์จากแผ่นโปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง

ปัญหาที่ 9 คอมพิวเตอร์แฮงก์บ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- สาเหตุที่ 1 อาจเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีแก้ ลองใช้โปรแกรม Antivirus เวอร์ชั่นอัพเดทตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด
- สาเหตุที่ 2 คุณภาพเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐาน
วิธีแก้ อาจเป็นเพราะคุณภาพของเมนบอร์ดไม่ถึงมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ให้เอาไปเปลี่ยน
- สาเหตุที่ 3 ไฟล์ระบบปฏิบัติการชำรุด
วิธีแก้ ถ้ามั่นใจแล้วว่าไม่ได้เกิดจากไวรัสและสาเหตุอื่น ๆ ให้เรา Backup ข้อมูล ฟอร์แมต แล้วลงระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ทั้งหมด

ปัญหาที่ 10 เวลาบู๊ตเครื่องต้องกด F1 ทุกครั้ง
สาเหตุ พบความผิดพลาดขณะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test)
วิธีแก้ เมื่อขณะเปิดเครื่อง Bios จะทำการตรวจสอบระบบเรียกว่า Post (Power On Self Test) ถ้าพบผิดพลาดจะมีข้อความแจ้งให้ผู้ใช้ทราบและหยุดรอผู้ใช้กด เพื่อทำงานต่อ ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราตั้งค่าใน Bios ว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Biosว่ามีอุปกรณ์บางอย่างอยู่ในเครื่องซึ่งไม่มีอยู่จริง เมื่อ Bios ค้นหาอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วไม่พบ อุปกรณ์ดังกล่าวจึงแจ้งความผิดพลาดให้เราทราบ ซึ่งเราอาจเข้าไปแก้ค่าต่าง ๆ ใน Bios ให้ตรงกับความจริง ปัญหาที่ Bios ก็จะหายไปเอง

ปัญหา 11 หลังจากที่เปิดเครื่องแล้วมีแต่เสียงปี๊บ ยาวๆ เกิดขึ้นและเครื่องก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้

วิธีแก้ ตามปกติเมื่อเปิดเครื่องแล้วคุณจะได้ยินเสียงดังปี๊บสั้นๆ หนึ่งครั้ง ซึ่งเสียงนี้สื่อให้คุณรู้ว่าระบบทุกอย่างอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอะไรผิดพลาด ขึ้นกับอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในเครื่องแล้ว ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการลืมติดตั้งการ์ดแสดงผล หน่วยความจำติดตั้งไม่แน่นหรือไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดขึ้นนี้มีหลากหลายรูปแบบคุณจะต้องแยกให้ออก ว่าเสียงนั้นดังอย่างไร จากตัวอย่างเช่น สั้นสลับยาวหรือดังยาวๆ เพียงครั้งเดียว นอกจากนี้เมนบอร์ดที่ใช้ไบออสต่างยี่ห้อกันเสียงที่เกิดขึ้นก็จะบ่งบอกสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

การบันทึกและการใช้  System  Restore  คืนค่า
 ถ้าการติดตั้งฮาร์ดแวร์หรือโปรแกรมใหม่ทำให้ระบบปฏิบัติการอย่างวินโดวส์ เอ็กซ์พี หรือโปรแกรมต่างๆ ของคุณเกิดสภาพที่ไม่พึงปรารถนา หรือระบบรวน System Restore สามารถช่วยคุณแก้ปัญหานี้ได้
  บางครั้งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้ เช่น เมื่อคุณติดตั้งผลิตภัณฑ์หรือโปรแกรมจากซีดี หรือจากอินเทอร์เน็ต และทันใดนั้นคอมพิวเตอร์ซึ่งไว้ใจได้มาตลอดก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องอีกต่อไป ซึ่งบางทีแม้คุณจะลบโปรแกรมตัวปัญหานั้นออกไปแล้ว แต่ปัญหาที่ว่าก็ยังไม่หายไป
     System Restore จะทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณกลับคืนสู่สภาพที่คุณระบุก่อนเกิดปัญหา เอกสารที่คุณสร้างไว้หรือแฟ้มที่คุณเพิ่งทำการเปลี่ยนแปลงจะไม่หายไป แต่สิ่งที่หายไปก็คือปัญหานั่นเอง คุณจะได้สมรรถนะที่ดีเยี่ยมของเครื่องกลับคืนมา และไม่ต้องหัวเสียกับการโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่แสนจะยืดเยื้อยาวนานอีกต่อไป
       การใช้ System Restore เพื่อเลิกทำการเปลี่ยนแปลงที่ทำไว้กับคอมพิวเตอร์ ถ้าการเปลี่ยนแปลงที่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการตั้งค่าบนคอมพิวเตอร์ของคุณ รวมทั้งการติดตั้งโปรแกรมใหม่ๆ ฮาร์ดแวร์ใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นใดก็ตามที่เกิดขึ้นกับระบบ หรือการตั้งค่าระบบของคุณ ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณอยู่ในสถานะที่ไม่ต้องการ คุณสามารถใช้ System Restore เพื่อยกเลิกการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ System Restore จะดำเนินการทั้งหมดต่อไปนี้


ทำคอมพิวเตอร์ให้กลับไปยังสถานะที่สมบูรณ์เหมือนเดิม
       System Restore จะตามรอยการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเฉพาะ เช่นเดียวกับตามรอยเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น การติดตั้งโปรแกรม คุณยังสามารถสร้างจุดที่ต้องการให้มีการคืนค่าของตัวคุณเองได้ เพื่อบันทึกการตั้งค่าก่อนที่คุณจะทำการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะนี้ช่วยให้คุณสามารถย้อนกลับไปยังสภาวะหรือเวลาที่คงที่กว่า โดยเลือก จุดคืนค่า ในช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่าง ถ้าคุณบังเอิญลบแฟ้มโปรแกรม (เช่น แฟ้มที่มีส่วนขยายเป็น .exe, .dll, หรืออื่นๆ ) ทิ้งไป หรือแฟ้มโปรแกรมเสียหาย คุณจะสามารถนำคอมพิวเตอร์ของคุณกลับคืนสู่สภาวะก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ System Restore จะเฝ้าคุม และคืนค่าพาร์ทิชันทั้งหมดในทุกไดรฟ์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ และ System Restore จะทำการคืนค่าโดยไม่ทำให้คุณเสียแฟ้มส่วนบุคคลของคุณไปรายการต่างๆ เช่น เอกสาร ข้อความอีเมล์ และประวัติการเรียกดูจะได้รับการบันทึกเมื่อคุณทำการคืนค่าด้วย System Restore จัดเก็บในช่วงหนึ่งถึงสามสัปดาห์ของการเปลี่ยนแปลง
       ตัวเลขที่แท้จริงของจุดคืนค่าที่ได้รับการบันทึกไว้ในอดีตจะขึ้นอยู่กับจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินอยู่บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ขนาดของฮาร์ดดิสก์ หรือพาร์ทิชันที่บรรจุโฟลเดอร์วินโดวส์ของคุณ และจำนวนที่ว่างที่ได้รับการจัดสรรเพื่อจัดเก็บข้อมูลของ System Restore การกำหนดวันที่พร้อมกับจุดคืนค่า ปฏิทินจะปรากฏเมื่อคุณเรียกใช้ System Restore เพื่อช่วยคุณหาจุดคืนค่า ถ้าคุณไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน ในบางวันอาจไม่มีจุดคืนค่าใดๆ เลย ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ คุณอาจได้รับจุดคืนค่าเกือบทุกวันและบางวันก็อาจมีหลายจุด 1 ถึง 5 จุดจัดหาประเภทของจุดคืนค่าของระบบ
        รายการข้างล่างจะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับประเภทของจุดคืนค่าแต่ละประเภท และวิธีการดำเนินงานของ System Restore กับจุดแต่ละประเภทของระบบ
จุดตรวจสอบระบบขั้นต้น
       จุดตรวจสอบนี้ได้รับการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อคุณเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์หลังจากทำการปรับรุ่นไปยังวินโดวส์ เอ็กซ์พี หรือเมื่อเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ครั้งแรก การเลือกจุดนี้จะจะนำวินโดวส์ และโปรแกรมกลับคืนไปยังสถานะที่เป็นในเวลานั้น แฟ้มต่างๆ ที่มีส่วนขยายที่เป็นที่คุ้นเคย เช่น .docs, .html, .123, หรืออื่นๆ และแฟ้มทั้งหมดในโฟลเดอร์ My Documents จะไม่ได้รับการคืนค่า ถ้า System Restore ได้ลบจุดตรวจสอบทั้งหมดออกไปเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จะมีการสร้างจุดตรวจสอบระบบใหม่ และการสร้างจุดตรวจสอบแบบปกติจะดำเนินการต่อจากจุดนั้น
จุดตรวจสอบระบบ
       System Restore จะสร้างจุดตรวจสอบตามตารางเวลาปกติ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับระบบ System Restore จะสร้างจุดตรวจสอบเหล่านี้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติทุก ๆ 10 ชั่วโมงที่คอมพิวเตอร์ของคุณเปิดอยู่ และทุกๆ 24 ชั่วโมงตามเวลาจริง ถ้าคุณปิดคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง System Restore จะสร้างจุดตรวจสอบในครั้งต่อไปที่คุณเปิดคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะเดินเครื่องเปล่าเป็นเวลา 2-3 นาทีก่อนที่ System Restore จะสร้างจุดตรวจสอบตามตารางเวลาการเลือกจุดตรวจสอบตามตารางเวลาจะนำวินโดวส์และโปรแกรมกลับคืนสู่สถานะที่เป็นในเวลานั้น แฟ้มต่างๆ ที่มีนามสกุลเป็นที่คุ้นเคย (เช่น .doc, .htm, .123, และอื่นๆ) และแฟ้มทั้งหมดในโฟลเดอร์ My Documents จะไม่ได้รับการคืนค่าเช่นกัน

จุดคืนค่าการติดตั้งชื่อโปรแกรม
          เมื่อคุณติดตั้งโปรแกรมโดยใช้ตัวติดตั้งล่าสุดจาก Install shield (6.1 Pro หรือสูงกว่า) และ Windows Installer แล้ว System Restore จะสร้างจุดคืนค่าขึ้น ให้ใช้จุดคืนค่าเหล่านี้เพื่อตามรอยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบของคุณ หรือนำคอมพิวเตอร์ของคุณกลับคืนสู่สภาวะที่เป็นก่อนการติดตั้ง การเลือกจุดนี้จะลบแฟ้มที่ใช้ในการติดตั้งและการตั้งค่าหน่วยเก็บทะเบียนออกไป และคืนค่าโปรแกรมและแฟ้มระบบของวินโดวส์ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการติดตั้ง แฟ้มต่างๆที่มีนามสกุลเป็นที่คุ้นเคย (เช่น .doc, .htm, .123, และอื่นๆ) และแฟ้มทั้งหมดในโฟลเดอร์ My Documents จะไม่ได้รับการคืนค่า เมื่อต้องการคืนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ตัวติดตั้งที่ระบุ ให้เลือกจุดตรวจสอบระบบล่าสุดก่อนการติดตั้ง

จุดคืนค่าการอัพเดตอัตโนมัติของวินโดวส์ มี และเอ็กซ์พี
          ถ้าคุณใช้การอัพเดตอัตโนมัติของ Windows System Restore จะสร้างจุดตรวจสอบก่อนการติดตั้ง ถ้ามีการดึงข้อมูลรายการแต่ไม่ได้ติดตั้ง จะไม่มีการสร้างจุดตรวจสอบ จุดตรวจสอบจะถูกสร้างขึ้นเฉพาะเมื่อเริ่มติดตั้งส่วนประกอบใดๆ ให้ใช้จุดตรวจสอบเหล่านี้เพื่อตามรอยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบของคุณ หรือเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นที่การอัพเดตเหล่านี้จะไปขัดแย้งกับผลิตภัณฑ์อื่นๆบนคอมพิวเตอร์ของคุณ

จุดคืนค่าที่คุณสร้างขึ้นเอง
          คุณสามารถสร้างจุดคืนค่าของคุณเองได้ถ้าคุณต้องการ เมื่อมีการแสดงรายการจุดคืนค่าที่สร้างขึ้น รายการนั้นจะรวมถึงชื่อที่คุณตั้งเมื่อสร้างจุดคืนค่านั้น การสร้างจุดคืนค่าของคุณเองจะเป็นประโยชน์เสมอเมื่อคุณคิดจะทำการเปลี่ยนแปลงที่เสี่ยง และอาจทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานไม่คงที่
           ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการนำค่ากลับคืนเหล่านั้นสามารถย้อนกลับได้ ถ้าคุณไม่ชอบสถานะของคอมพิวเตอร์หลังจากการคืนค่า คุณสามารถยกเลิกค่าที่กลับคืนมานั้นได้ หรือเลือกจุดคืนค่าอื่นๆ การนำค่ากลับคืนที่สำเร็จจะสามารถย้อนกลับได้ การนำค่ากลับคืนที่ล้มเหลวจะได้รับการย้อนกลับโดยอัตโนมัติโดย System Restore และเมื่อคุณมีความจำเป็นต้องใช้ System Restore มีดังนี้
ให้คลิ้กเมนู Start ชี้ไปที่ Programs และชี้ไปที่ Accessories คลิ้กไปที่ System Tools
จากนั้นคลิ้ก System Restore
คลิ้กเลือก Restore my computer to an earlier time และกด Next ครับ
คลิ้กเลือกวันที่และในช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเครื่องคอมพิวเตอร์ กด Next
กด Next อีกครั้ง คอมพิวเตอร์จะทำการรีสตาร์ท แล้วรอสักครู่ คุณจะได้สมรรถนะที่ดีเยี่ยมของเครื่องคอมพิวเตอร์กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

ข้อควรระวังในการใช้ System Restore

          ถ้าคุณย้อนกลับไปยังจุดก่อนที่จะติดตั้งโปรแกรม โปรแกรมจะไม่ทำงานหลังจากการนำค่ากลับคืน ถ้าคุณต้องการใช้โปรแกรมอีกครั้ง คุณจะต้องติดตั้งโปรแกรมตัวนั้นใหม่ System Restore จะไม่แทนที่ขั้นตอนการยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม เมื่อต้องการลบแฟ้มที่โปรแกรมติดตั้งอย่างสมบูรณ์ คุณจะต้องลบโปรแกรมโดยใช้ Add/Remove Programs ใน Control Panel หรือโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งเฉพาะของโปรแกรมนั้น

การแบ็กอัพ และกูข้อมูลคืน Windows XP
          โปรแกรมช่วยในการแบ็คอัพข้อมูล (Backup Files) ในเครื่องเก็บไว้ คอมพิวเตอร์ตามบ้าน อาจ ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท โรงเรียน ธนาคาร ฯลฯ ถ้าไม่สำรองข้อมูลไว้ คอมพิวเตอร์พังขึ้นมาก็คงวุ่นวายไม่น้อยกับการตามลูกค้ามาติดต่อเพื่อเก็บข้อมูลใหม่
         ส่วนการรีสตอร์ (Restore File) หรือเรียกใช้ข้อมูลที่ได้สำรองเก็บไว้ ก็จะช่วยให้ได้ข้อมูลเดิมกลับมา การสำรองข้อมูลอาจสำรองเพียงบางส่วน (File Backup) หรือสำรองทั้งระบบ (Complete PC Backup) ถ้าตัว Windows XP เกิดเสียหายก็เรียกใช้งานไฟล์สำรอง ถ้าเสียหายเฉพาะไฟล์ข้อมูล ก็เรียกใช้งานเฉพาะไฟล์ที่ได้สำรองไว้
การแบ็คอัพข้อมูลด้วยโปรแกรม Backup
  1. เข้าโปรแกรม Backup
  2. คลิกปุ่ม Next
  3. คลิกเลือก Backup files and settings
  4. คลิกปุ่ม Next


  5. คลิกเลือกลักษณะการสำรองข้อมูล ในที่จะเลือกแบบ Let me choose what to backup จะ เป็นการเลือกเองว่าจะสำรองข้อมูลอะไรบ้าง
            - My documents and settings สำรองข้อมูลในโฟลเดอร์ My Documents และการตั้งค่าการ ใช้งานโปรแกรมต่างๆ เฉพาะของผู้ใช้คนนั้นๆ
           - Everyone’s documents and settings สำรองข้อมูลของผู้ใช้ทุกคน
            - All information on this comuter สำรองข้อมูลของทุกคนที่ใช้งานเครื่องนี้
    6. คลิกปุ่ม Next ทำงานต่อ

    7. ในที่นี้ต้องการสำรองข้อมูลในไดรว์ C: ทั้งหมด โดยคลิกติ๊กถูกที่ไดรว์ C แล้วคลิกปุ่ม Next เป็นการแบ็คอัพที่แนะนำให้ทำ เผื่อถ้าไฟล์ระบบของ Window XP มีปัญหา จะสามารถเรียกใช้ไฟล์ที่สำรองไว้ได้


         8. คลิกปุ่ม Browse ไปเลือกไดร์และโฟลเดอร์เพื่อเก็บไฟล์
         9. คลิกเลือกตำแหน่งไว้เก็บไฟล์ เช่น ไดรว์ H: โฟลเดอร์ชื่อ Backup
         10. คลิกและพิมพ์ชื่อไฟล์เช่น WindowsXP
         11. คลิกปุ่ม Save
         12. คลิกปุ่ม Next ทำงานต่อ

11. คลิกปุ่ม Save
12. คลิกปุ่ม Next ทำงานต่อ
13. คลิกปุ่ม Finish
14. โปรแกรมจะเริ่มต้นสำรองข้อมูลเก็บไว้
15. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Close
16. ไฟล์ที่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น