เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
การเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลและสามารถสื่อสารระหว่างกันได้
อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ และมีการให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น
ไปรษณีย์อิเล็คโทรนิค (E-mail), การสนทนาทางเครือข่าย
(MSN, ICQ) เว็บ, การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล
(FTP), การเล่นเกมส์ออนไลน์ (Ragnarok) , การเข้าชมเว็บไซต์ (Web)
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet)
เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต
กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท
การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี
แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน
เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่
เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง โปรแกรมใช้งาน หรือโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ที่ต้องการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยการสั่งงานของโปรแกรมระบบ ปฏิบัติการ เพื่อควบคุมการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ หรือแต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกัน เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ก็จะแตกต่างกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการของ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ของระบบอื่นๆ เป็นต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้แก่ MS-DOS, UNIX, Microsoft WINDOWS 95, 98, NT, XP เป็นต้น
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง โปรแกรมใช้งาน หรือโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ที่ต้องการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยการสั่งงานของโปรแกรมระบบ ปฏิบัติการ เพื่อควบคุมการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ หรือแต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกัน เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ก็จะแตกต่างกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการของ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ของระบบอื่นๆ เป็นต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้แก่ MS-DOS, UNIX, Microsoft WINDOWS 95, 98, NT, XP เป็นต้น
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับการส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต
ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี
โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ของตนเอง
เพียงแต่เข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์เหล่านั้นก็จะสามารถส่งจดหมายได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม การใช้บริการรับส่งจดหมายของบางหน่วยงานที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
แล้วให้พนักงานรับส่งจดหมายผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
แต่ไม่มีบริการของโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์
ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ที่คอมพิวเตอร์ของตนโดยเฉพาะ
แล้วรับส่งจดหมายโดยผ่านโปรแกรมเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ Microsoft Outlook, Microsoft Exchange และ Eudora เป็นต้น
โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการติดต่อสื่อสารอาจเป็นในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความคุยโต้ตอบกัน (Chat ) หรือพูดคุยกันโดยผ่านไมโครโฟนที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเห็นหน้าระหว่างพูดคุยกันได้ ซึ่งเรียกว่า Video Conference โปรแกรมที่ใช้สำหรับการสื่อสารเหล่านี้ ได้แก่ Microsoft Chat, ICQ, MSN Messenger, Pirch, Mirc, Yahoo Messenger เป็นต้น
โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งภาพและเสียง รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลประเภทมัลติมิเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Real Audio, Real Video, Windows Media Player เป็นต้น
การใช้งาน Internet Explorer เบื้องต้น
1. ปุ่มคำสั่ง
2).ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง
ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันฮับ(HUB)ในระบบเครือข่ายฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน
การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน
หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch
ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย
3).สวิตช์(Switch) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ
( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่
ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า
เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า
ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน
Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่)
นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว
จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ
แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก
ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่ง domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง
และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ
และส่งด้วยความเร็วสูง
โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการติดต่อสื่อสารอาจเป็นในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความคุยโต้ตอบกัน (Chat ) หรือพูดคุยกันโดยผ่านไมโครโฟนที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเห็นหน้าระหว่างพูดคุยกันได้ ซึ่งเรียกว่า Video Conference โปรแกรมที่ใช้สำหรับการสื่อสารเหล่านี้ ได้แก่ Microsoft Chat, ICQ, MSN Messenger, Pirch, Mirc, Yahoo Messenger เป็นต้น
โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งภาพและเสียง รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลประเภทมัลติมิเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Real Audio, Real Video, Windows Media Player เป็นต้น
การใช้งาน Internet Explorer เบื้องต้น
1. ปุ่มคำสั่ง
ปุ่ม Back ใช้สำหรับย้อนกลับไปหน้าที่ผ่านมาแล้ว
ปุ่ม Forward ใช้สำหรับเปลี่ยนไปหน้าต่อไป (หลังจากที่ย้อนกลับมา)
ปุ่ม Stop ใช้สำหรับหยุดการโหลดข้อมูลในหน้าเว็บเพจนั้น
ปุ่ม Refresh ใช้สำหรับการเรียกโหลดข้อมูลหน้าเว็บเพจใหม่อีกครั้ง
ปุ่ม Home ใช้สำหรับกลับไปหน้าแรกหรือกลับไปที่
URL ที่ตั้งไว้ให้เป็นหน้าแรก
ปุ่ม Search ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์
ปุ่ม Favorites ใช้สำหรับเลือกเว็บไซต์จาก Favorites หรือ Book
Mark
ปุ่ม History ใช้สำหรับการย้อนกลับไปดูเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปดูมาแล้ว
ปุ่ม Mail ใช้สำหรับการ
รับ-ส่ง อีเมล์
ปุ่ม Print ใช้สำหรับการพิมพ์หน้าเว็บออกเครื่องพิมพ์
ปุ่ม Edit
ใช้สำหรับการแก้ไขหน้าเว็บเพจนั้น
ๆ
ประเภทของระบบเครือข่ายแบ่งได้กว้าง ๆ 2 ลักษณะ คือ
ประเภทของระบบเครือข่ายแบ่งได้กว้าง ๆ 2 ลักษณะ คือ
LAN เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด
WAN เป็นการเชื่อมต่อแลนในสานที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านระบบสื่อสารอื่น ๆ
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. เครื่องทวนสัญญาณ
(repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล
แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ต่ออื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ
เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ
ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้
ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น
โดยสัญญาณไม่สูญหาย
4).บริดจ์(Bridge) เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน
แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น
ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980
บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย
การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting)
ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น
การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว
แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้
บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย
ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป
ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น
อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น
5).เราท์เตอร์(Router
) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง
แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing
Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6).เกตเวย์(Gateway) เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน
คือลักษณะของการเชื่อมต่อ ( Connectivity
) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ
ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน
LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา
เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือLANกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม
หรือระหว่าง LANกับ WANโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น
X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์
หรือเครือข่ายทางไกลอื่น
ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
(Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ
สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง
ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ
และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahuระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless
Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก
ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม
โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ
คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย
นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ
การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้
โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน
ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ
เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ
เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ
ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล
เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย
หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ
ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า
หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ
บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ
เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย
ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1. mobility improves productivity
& service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน
หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา
ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and
simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล
และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย
เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี
ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม
ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา
และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก
เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด
เช่น ระหว่างตึกระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก
และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน
การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือขรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายไร้สาย
1. Access
Point
สามารถกำหนด IP อัตโนมัติ หรือ Dynamic
Host configuration Protocol สามารถเชื่อมต่อกับ Network
Switch หรือ HUB ได้โดยผ่าน Wireless
LAN สามารถทำงานในลักษณะ Router
ทำให้ผู้คนหลานคนสามารถทำงานได้
2. Wireless
Adapter เป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายไร้สาย โดยการทำงานของ Wireless Adapter จะเป็นลักษณะการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบ
Two-way ทั้งรับทั้งส่ง
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย
1 Peer-to-peer ( ad hoc
mode ) รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ
Peer to
Peer เป็นลักษณะ
การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2
เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน
สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้
เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้
โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม,
หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2 Client/server (Infrastructure mode) ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ
Client / server หรือ Infrastructure
mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access
Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ
รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้
โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์
ของเครื่องลูกข่าย
เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิม
ในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
3 Multiple Caccess points and roaming )โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต
ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า
บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่
เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
4.The Use of Directional Antennas ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่
อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน
การสร้างระบบเครือข่ายให้สามารเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนในการสร้างระบบไร้สาย Windows XP มี 4 ขั้นตอน มีดังนี้
1.เลือกอุปกรณ์ระบบไร้สาย
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ โดยในขณะที่เลือกซื้ออุปกรณ์ จากร้านค้าหรืออินเทอร์เน็ตอาจสังเกตว่าสามารถเลือกอุปกรณ์ที่รองรับการทำงานกับเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายที่แตกต่างกัน
3 ชนิด ก็คือ 802.11a, 802.11b และ 802.11g ขอแนะนำให้เลือกเทคโนโลยี 802.11g หรือสูงกว่าเท่านั้น
ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยี 802.11n
2.เชื่อมต่อเราต์เตอร์ไร้สาย
เชื่อต่อเราต์เตอร์ไร้สายกับโมเด็ม ซึ้งโมเด็มจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงจากนั้น คอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารแบบไร้สายกับเราต์เตอร์ได้ เราต์เตอร์จะส่งการสื่อสารทุกอย่างผ่านโมเด็มไปยังอินเทอร์เน็ต
3. ปรับแต่งตัวแปรของเราต์เตอร์ไร้สาย
เชื่อต่อเราต์เตอร์ไร้สายกับโมเด็ม ซึ้งโมเด็มจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงจากนั้น คอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารแบบไร้สายกับเราต์เตอร์ได้ เราต์เตอร์จะส่งการสื่อสารทุกอย่างผ่านโมเด็มไปยังอินเทอร์เน็ต
3. ปรับแต่งตัวแปรของเราต์เตอร์ไร้สาย
ใช้เคเบิลระบบเครือข่ายที่ให้มาพร้อมกับเราต์เตอร์ไร้สายเพื่อช่วยให้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับพอร์ตที่ร่างในเราต์เตอร์ไร้สายได้ชั่วคราว
หหากจำเป็นสามารถเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา
จากนั้นคอมพิวเตอร์จากนั้นคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อเราต์เตอร์ได้โดยอัตโนมัติ
4. เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ถ้าหากคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีการบริการระบบเครือข่ายไร้สายในตัว จะต้องเสียบต่ออะแดปเตอร์ระบบเครือข่ายเข้าหาพอร์ต USB จากนั้นติดตั้งเสาอากาศไปด้านบนสุดคอมพิวเตอร์
(ในกรณีพีซี) หรือใช้อะแดปเตอร์ระบบเครือข่ายลงไปในสล็อตพีซีการ์ดที่ว่าง
(ในกรณีของโน้ตบุ๊ก) Windows XP จะแยกแยะอะแดปเตอร์ คำสั่งบนหน้าจอจะแนะนำวิธีการปรับตกแต่งตัวแปรให้เองเพื่อทำการติดตั้งไดเวอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น