หน่วยที่ 3 การจัดการฮาร์ดดิสก์

การจัดการฮาร์ดดิสก์

  

การจัดพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ คือขั้นตอนของการ จัดรูปแบบการใช้งานของ ฮาร์ดดิสก์ ก่อนขั้นตอนการ ฟอร์แมต
 โดยที่เราสามารถ ทำการแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ ออกเป็นขนาดต่าง ๆ เพื่อกำหนดให้ใช้งานได้ในแต่ละ Drive เพื่อความเป็น
ระเบียบของข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ขนาดเต็ม 8 GB อาจจะทำการแบ่งออกเป็น Drive C: ขนาด 3 GB เพื่อใช้สำหรับ
ลง Windows และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และทำการแบ่งเป็น Drive D: อีกส่วนหนึ่งโดยให้มีขนาดเป็น 5 GB เพื่อใช้สำหรับ
เก็บข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น
ชนิดของพาร์ติชั่น จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • FAT16 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ DOS, Windows 3.1 และ Windows 95 รุ่นแรก ๆ จะรองรับขนาดของพาร์ติชันได้สูงสุดที่ 2 GB ต่อ พาร์ติชั่นเท่านั้น
  • FAT32 เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows 97 OSR2 และ Windows 98 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชันได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ พาร์ติชัน
  • NTFS เป็นการจัดพาร์ติชันสำหรับ Windows NT
ดังนั้น หากจะทำการจัดแบ่งพาร์ติชัน ให้ใช้งานฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดมากกว่า 2 GB ต่อ 1 พาร์ติชันก็ต้องทำการสร้างพาร์ติชันแบบ FAT32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการจัดแบ่ง พาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์ แบบง่าย ๆ ก็คือโปรแกรม FDISK ที่มีมาให้กับWindows 98 นั่นเอง โดยที่ต้องอย่าลืมว่า การใช้ FDISK จาก Windows 98 จะสามารถสร้างพาร์ติชันแบบFAT32 ได้ แต่ถ้าหากเป็น FDISK ที่มากับ Windows 95 หรือของ DOS จะสามารถทำได้เฉพาะระบบ FAT16 เท่านั้นไม่สามารถทำเป็น FAT32 ได้

โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการจัดแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ ไม่จำเป็นต้องทำบ่อยนัก จะทำในกรณีที่ต้องการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ชนิดของ FAT หรือกำหนดขนาดของพาร์ติชันใหม่เท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการจัดพาร์ติชันใหม่นี้ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย ดังนั้นต้องระวังหรือทำการเก็บสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ก่อน ในที่นี้จะยกตัวอย่างของการจัดการ และการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่ง FDISK ที่มีมากับWindows เพื่อเป็นการเตรียมฮาร์ดดิสก์ก่อนขั้นตอนการลง Windows ต่อไป

หลักของการแบ่งพาร์ติชั่นด้วย FDISK
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่องของคำที่จะใช้ และหลักการแบ่งพาร์ติชั่นด้วย FDISK กันก่อนครับ โดยที่มีหลักการแบ่ง เรียงตามลำดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแบบง่าย ๆ และรวดเร็วดังนี้
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มีขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ
2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยังไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ติชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ติชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น
3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้างไว้แล้ว) โดยที่ตรงนี้ จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ ที่เหลืออยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
ยกตัวอย่างละกัน สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 20G. ต้องการแบ่งเป็น พาร์ติชั่น โดยมีขนาดเป็น 5+5+10 จากข้อ 1. ก็ต้องสร้าง Primary DOS Partition ขึ้นมาขนาด 5G. ก่อน แล้วค่อยสร้าง Extended DOS Partition ขนาด15G. ที่เหลือ จากนั้นค่อยทำการสร้างเป็น Logical DOS Drive(s) โดยกำหนดให้มีขนาด 5G. และ 10G. ตามลำดับครับ
คำสั่ง FDISK จะสามารถหาได้จากแผ่น Windows 98 Start Up Disk ถ้าหากยังไม่มี ต้องทำการสร้างแผ่นWindows 98 Startup Disk ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้น จึงทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการบูทเครื่องจากแผ่นWindows 98 Startup Disk จากนั้น พิมพ์คำสั่ง fdisk แล้วกด Enter


ถ้าฮาร์ดดิสก์มีขนาดใหญ่มากกว่า 512MB จะมีคำถามว่าต้องการสร้างพาร์ติชันขนาดใหญ่หรือไม่ หรือเป็นการถามว่า ต้องการใช้งานแบบ FAT32 หรือไม่นั่นเอง หากตอบ [N] ก็จะเป็นการกำหนดให้ใช้งานแบบ FAT16 หรือเหมือนกับการใช้ FDISK ของ DOS หรือ Windows 95 รุ่นเก่าไป แต่ถ้าต้องการแบ่งพาร์ติชันแบบ FAT32 ก็ให้กด [Y]


เมนูหลักสำหรับการใช้งานแบบต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะมีแค่ 4 รายการ แต่ถ้าหากมีการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า ตัว จะมีเมนูที่ คือ Change current fixed disk drive สำหรับเลือกว่าจะทำงานกับ ฮาร์ดดิสก์ ตัวไหนให้เลือกด้วย การแสดงข้อมูลของ พาร์ติชัน ต่าง ๆ ทำโดยเลือกที่เมนู 4. Display partition information


เมนูของการแสดงพาร์ติชัน (เลือกจากเมนู 4. จากเมนูหลัก) จะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของพาร์ติชัน ในฮาร์ดดิสก์ จะเห็นรายละเอียดและการกำหนดรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการจัดแบ่งขนาดต่าง ๆ ด้วย ในกรณีที่เป็น ฮาร์ดดิสก์ ที่ยังไม่ได้ทำการจัดพาร์ติชัน ก็จะไม่มีข้อมูลแสดงให้เห็น เราสามารถกดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลัก


เมนูของการลบพาร์ติชัน (เลือกเมนู 2. จากเมนูหลัก) จะมีเมนูให้เลือกรายการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ซึ่งขออธิบายความหมายของแต่ละพาร์ติชัน ดังนี้
  • Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
  • Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิวก์
  • Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่งสามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
  • Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
ในการลบพาร์ติชัน จะต้องทำการลบโดยเรียงลำดับข้อมูลด้วย เช่นต้องลบ Logical DOS Drive ออกให้หมดก่อนจึงจะลบ Extended DOS Partition ได้ และหลังจากนั้น จึงทำการลบ Primary DOS Partition ตามลำดับต่อไป


หากทำการลบพาร์ติชันต่าง ๆ ข้อมูลทุกอย่างที่เก็บอยู่ในพาร์ติชันนั้น ๆ จะหายไปหมด ดังนั้นเมื่อจะทำการลบพาร์ติชัน จะมีการถามยืนยันการลบ โดยให้ใส่ Volume Label ของฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการลบข้อมูล โดยไม่ได้ตั้งใจหรือลบผิดพาร์ติชัน ดังนั้น หากจะทำขั้นตอนนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังและอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน


เมนูของการสร้างพาร์ติชัน (เลือกเมนู 1. จากเมนูหลัก) จะเป็นการสร้างพาร์ติชันแบบต่าง ๆ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับเมนูของการลบพาร์ติชัน คือจะมีการสร้าง Primary DOS Partion, Extended DOS Partition และการสร้าง Logical DOS Drive ใน Extended DOS Partition ปกติแล้วก็จะสร้างเรียงตามลำดับตามต้องการ


กรณีที่เลือกสร้าง Primary DOS Partition เป็นอักแรก จะมีเมนูถามว่า ต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์สำหรับทำเป็น Primary DOS Partition หรือไม่ หากต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมดสร้างเป็น Drive เดียวก็เลือก [Y] แต่ถ้าหากต้องการระบุขนาดต่าง ๆ ของพาร์ติชันด้วยตัวเอง ก็เลือกที่ [N] เพื่อกำหนดขนาดเอง


จากรูป ถ้าหากเลือกที่จะกำหนดขนาดของ Primary DOS Partition เองโดยเลือก [N] จากขั้นตอนที่แล้ว จะมีเมนูให้ใส่ขนาดของ Primary DOS Partition ตามต้องการ โดยอาจจะใส่เป็นตัวเลขจำนวนของ MB หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ก็ได้ จากตัวอย่างสมมติว่ากำหนดขนาดเป็น 70% ของจำนวนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด ก็ใส่ 70% แล้วกดEnter


หลังจากนั้น ก็ทำการสร้าง Extended DOS Partiton จากส่วนของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่เหลือ โดยการเลือกเมนูที่ 2. Create Extended DOS Partition ทำการกำหนดขนาดของพื้นที่ตามที่ต้องการ จากตัวอย่างคือจะใช้พื้นที่ 30% ที่เหลือทั้งหมด โดยการกำหนดขนาดนี้อาจจะใส่เป็ยตัวเลขจำนวน หรือใส่เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ก็ได้แล้วกด Enter


หลังจากที่สร้าง Extended DOS Partition แล้วจะมีการแสดงรายละเอียดของการแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ให้ดูตามรูป


ในส่วนของ Logical Drive จะเป็นการสร้างขึ้นภายในของ Extended DOS Partition อีกที ซึ่งการกำหนดขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ก็กำหนดขนาดตามต้องการ หรือถ้าต้องการแบ่งในส่วนของ Extended DOS Partition ออกเป็นหลาย ๆ Drive ก็สามารถทำการกำหนดแบ่งได้จากส่วนของ Logical Drive นี้


หลังจากที่ทำการสร้างและจัดแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เมื่อกลับมาที่เมนูหลัก จะมีคำเตือนว่าไม่มีการกำหนดพาร์ติชันไหน active อยู่เลย ต้องทำการกำหนดพาร์ติชันที่สร้างขึ้นมาให้เป็น active partition ด้วยเพื่อให้สามารถใช้บูทเครื่องได้ การกำหนดทำโดยการเลือกที่เมนู 2. Set active partition


ใส่หมายเลขของ Partition ที่ต้องการให้เป็น active partition และกด Enter


เมื่อเลือกที่เมนู 4. เพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ก็จะเห็นลักษณะการจัดและแบ่งพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ รวมถึงพาร์ติชันที่ตั้งให้เป็น active partition ด้วย


หลังจากที่ทำการกำหนดและแบ่ง Partition ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากโปรแกรม FDISK ก็จะมีข้อความเตือนว่า ให้ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก่อน การจัดพาร์ติชันต่าง ๆ จึงจะมีผลและทำการ format ฮาร์ดดิสก์ต่อไป
การจัดแบ่งพาร์ติชันของ ฮาร์ดดิสก์นี้ โดยปกติแล้ว จะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ลง Windows ใหม่ ซึ่งจะทำการจัดพาร์ติชัน ก็ต่อเมื่อต้องการจัดแบ่งขนาดของ ฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือต้องการลบข้อมูล ให้สะอาดจริง ๆ เนื่องจากเกิดการติดไวรัส เครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น และอย่าลืมว่า การทำ FDISK นี้ข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ใน ฮาร์ดดิสก์ จะหายไปทั้งหมดด้วย จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวัง ในการทำทุก ๆ ขั้นตอน

การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์


การเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์นั้น โดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การแบ่งหรือการจัดสรรพาร์ติชั่น
2. การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบไฟล์หรือการฟอร์แมต
โดยหลักจากการฮาร์ดดิสก์ได้ผ่านขั้นตอนทั้งสองนี้แล้วก็สามารถนำไปติดตั้ง
ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงนำไปจัดเก็บข้อมูลได้ในทันที
พาร์ติชั่น (Partition) คือ เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบทั่วเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบ ไฟล์หรือที่เรียกว่าการฟอร์แมตระดับสูงในพื้นที่แต่แต่ละส่วนให้เป็นอิสระ จากกันได้
ประเภทของพาร์ติชั่นที่จะใช้แบ่งมีอยู่ 2 ประเภท
1. Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักที่ใช้สำหรับติดตั้งและบู๊ตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ ซึ่งโดยมากมักจะหมายถึงไดรว์ C หรือไดรว์ที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการเอาไว้ โดยในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะมีพาร์ติชั่นประเภท Primary ได้สูงสุงเพียงไม่เกิน 3 พาร์ติชั่นเท่านั้น โดยพาร์ติชั่นที่ใช้บู๊ตเข้าระบบปฏิบัติการจะต้องถูกกำหนดให้อยู่ในสถานะ Active
2. Extended Partition เป็นพาร์ติชั่นเสริมหรือส่วนขยายเพิ่มเติมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ข้อจำกัดเดิมๆของพาร์ติชั่นประเภท Primary ที่ในฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งๆจะสามารถมีได้สูงสุดไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น
ข้อดี และข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่น

ข้อดี
1. ช่วยให้เราสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ยังพาร์ติชั่นอื่นได้ เผื่อว่าเวลาระบบ Windows มีปัญหาหนักจนถึงขั้นต้องฟอร์แมตพาร์ติชั่นที่ Windowsไว้แล้วลงใหม่ก็จะได้ไม่มี ผลกระทบใดๆหรือไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลในพาร์ติชั่นอื่นจะสูญหายไป

2. เพื่อความสะดวกและเรียบร้อยในการจัดเก็บหรือแยกแยะประเภทของข้อมูลต่างๆให้เป็นสัดเป็นส่วน
3. เพื่อความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลและจำกัดพื้นความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล และจำกัดพื้นที่ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆเพื่อดูแลรักษาเครื่อง เช่น การใช้โปรแกรม Antivirus ในการสแกนหาไวรัสในแต่ละพาร์ติชั่นที่สงสัยและการจัดเรียงข้อมูล (Defrag) ทีละพาร์ติชั่นเป็นต้น
4. ช่วยให้เราสามารถติดตั้งหลายๆระบบปฏิบัติการในฮาร์ดดิสก์ลูกเดียว

ข้อเสีย
1. หากกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นไว้เล็กเกินไปอาจทำให้มีปัญหาในกานทำงานร่วมกับ ไฟล์งานของโปรแกรมบางตัวที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดี เป็นต้น
2. หากแบ่งพาร์ติชั่นไว้จำนวนมากอาจทำให้สับสนได้ง่าย
3. ผู้ใช้ควรศึกษาให้เข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการในเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะสามารถลงมือแบ่งพาร์ติชั่นไดอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่น ข้อแนะนำในเรื่องของการกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT32 ว่าไม่ควรมีขนาดเกินกว่า 32 GB (หรือถ้าจะกำหนดให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ก็สามารถทำได้ แต่ขนาดของคลัสเตอร์ก็จะใหญ่ตามขึ้นไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลนั้นลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงแนะนำให้ใช้ระบบไฟล์แบบ NTFS แทน) เป็นต้น
วิธีที่ แบ่งและฟอร์แมตพาร์ติชั่นด้วยแผ่นติดตั้ง Window Vista
สำหรับ Window Vista นั้นระบบปฎิบัติการรุ่นล่าสุดที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Window XP ดั้งนั้นความสามารถในด้านของการสนับสนุนการทำบู๊ตหลายระบบจึงมีมาด้วยอยู่ แล้ว และในระหว่างขั้นตอนการติดตั้งก็ยังมีเครื่องมือที่ช่วยจัดเตรียมความพร้อม ของฮาร์ดดิสก์ เช่น การแบ่ง ลบ และ ฟอร์แมตพาร์ติชั่น ซึ่งมีอินเตอร์เฟสที่เป็นภาพกราฟิกสวยงามและใช้งานง่านมาให้ด้วย
การล้างเครื่องด้วยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการจะติดตั้ง Window Vista ลงในเครื่องพร้อมกันไปด้วย หลังจากผ่านขั้นตอนการแบ่งและฟอร์แมตพาร์ติชั่นไปแล้วเพราะใช่เพียงแผ่นติดตั้ง Win Vista เท่านั้นขั้นตอนต่างๆดังนี้
1 เริ่มต้นให้เราบู๊ตเครื่องด้วยแผ่น DVD สำหรับติดตั้ง Window Vista (รอสักครู่) เมื่อปรากฏหน้าต่างดังรูปให้เรากดคีย์ใดๆบนคีย์บอร์ด
2 .ในหน้าต่างแรก ให้เราตั้งภาษา เวลา และคีย์บอร์ด ดังนี้
Language to install: เลือกตั้งภาษาที่จะใช้ใน Window (ไม่มีตัวเลือกภาษาไทย)ในที่นี้เลือก English
Time and currency format : เลือกติดตั้งระบบเวลาและระบบเงินตราของแต่ระประเทศในที่นี้เลือก Thai (Thailand)
Keyboard or input method : เลือกติงตั้งภาษาเพิ่มเติมที่จะใช่ในคีย์บอร์ด ในที่นี้เลือก US (สามารถเข้าไปกำหนดเพิ่มเติมภายหลังได้)
เมื่อตั้งติดต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อ
3.คลิกปุ่ม Install now เพื่อเริ่มต้นการติดตั้ง หรือเลือกข้ออื่นๆ คือ
Repair your computer เข้าสู่ตัวเลือกและเครื่องมือต่างๆที่ใช่ซ่อมแซม คืนค่าระบบ และ ตรวจสอบความผิดปกติของหน่วยความจำ เป็นต้น
4.กรอกรหัส Product Key จำนวน 25 หลัก (ดูจากสติกเกอร์ที่ติดมาให้พร้อมกับแผ่นติดตั้ง) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next เพื่อทำการต่อ
5. ใส่เครื่องหมาย ถูก เพื่อยอมรับข้อตกลงในกานใช่งาน จากนั้นคลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อ
6. หน้าต่างถัดมาให้เราคลิกเลือกรูปแบบในการติด ตั้ง โดนมีรายระเอียดดังนี้
Upgrade ติดตั้งแบบอัพเกรดหรือปรับปรุงจากระบบปฏิบัติการ Window XP เดิมที่ใช่งานอยู่มาเป็น Window Vista โดยระบบจะยังคงเก็บรักษาไฟร์ข้อมูล โปรแกรม และค่ากำหนดต่างๆที่เคยใช้งานอยู่ เดิมเอาไว้ เช่น การปรับแต่งหน้าตาเดสก์ท็อป Favorites และอื่นๆ
Custom (advanced) ติดตั้งแบบกำหนดค่าต่างๆเองหรือติดตั้ง Windows แบบใหม่หมดลงบนฮาร์ดดิสใม่หรือพาร์ติชั่นที่ไม่มีระบบปฎิบัติการใดๆอยู่ ดังนั้นข้อมูลต่างๆบนพาร์ติชั่นที่ใช่ลง windows จะถูกลบทิ้งหมดในที่นี้คลิกเลือก Custom (advanced) ติดตั้งแบบกำหนดต่างๆเอง หรือติดตั้ง windows ใหม่
7.ในหน้าต่างถัดมา คลิกเมนู Drive options (advanced) เพื่อเรียกใช่เครื่องมือต่างๆสำหรับช่วยในการจัดเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์และอื่นๆที่ windows ให้มานด้วย
8. ในกรณีฮาร์ดดิสก์ใหม่ที่ใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ใหม่ที่ยังไม่ได้ แบ่งหรือฟอร์แมตพาร์ติเอาไว้ หรือพาร์ติชั่นต่างถูกลบทิ้งจนหมด จะปรากฏข้อความ Disk 0 Unallocated space ซึ่งหมายถึง เป็นพื้นที่ว่างที่ยังไม่ได้ถูกจัดสรรหรือนำไปใช้ ดังนั้นให้เราคลิกเลือกพื้นที่ว่างดังกล่าวแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง หรือแบ่ง พาร์ชั่น โดยในนี้สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาน 80 GB แล้วต้องการแบ่งพื้นที่ออกเป็น3 พาร์ติชั่น คือ ไดรว์ C,D และ E ขนาด 40,และ 20 GB ตามลำดับ ดังนั้นเริ่มต้นเราคลิกเมนู New
9.จะปรากฏช่อง Size สำหรับให้เรากำหนดขนาดพื้นที่ของพาร์ติชั่นใหม่จะถูกสร้างขึ้นในหน่วย MB(1000 MB= 1GBโดยประมาณ) ในที่นี้กำหนดให้พาร์ติชั่น 1หรือไดรว์ C มีขนาด 40GB ดังนั้น ในช่อง Size กำหนด 40000 จากนั้นคลิกปุ่ม Apply (รอสักครู่)
10. ให้เราคลิกเลือกพื้นที่ว่างที่เหลือ จากนั้นคลิกเมนู New
11. กำหมดขนาดพื้นที่ของพาร์ติชั่นถัดมา คือพาร์ติชั่น 2 หรือไดรว์ D มีขนาด 20 GB ดังนั้นในช่อง Size กำหนดเป็น 20000 จากนั้นคลิกปุ่ม Apply (รอสักครู่) ส่วนพาร์ติชั่น สุดท้ายที่เหลือก็ให้ดำเนินการแบบเดียวกานกันนี้ เพียงแต่ไม่ต้องกำหนด ขนาดของพื้นที่โดยสามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือทั้งหมด นั้นได้ทันที
12. ให้ฟอร์แมตทุกๆพาร์ชั่นที่ถูกสร้างขึ้น โดยคลิกเลือกพาร์ติชั่นที่ต้องการแล้วคลิกเมนู format
13. จะปรากฏหน้าต่างถามเพื่อยืนยัยการฟอร์แมต (ข้อมูลต่างในพาร์ติชั่นที่เลือกจะถูกลบทิ้งไปหมด)
ให้เราคลิกปุ่ม OK (รอสักครู่) จากนั้นใช้วีธีการเดียวกันนี้ฟอร์แมตทุกพาร์ติชั่นที่เหลือ
14. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการจัดเตรียมฮาร์ดดิส (การแบ่งและการฟอร์แมตพาร์ติชั่น) แล้วให้เราเลือกพาร์ติชั่นที่จะใช่การติดตั้ง Window (ในการที่นี้เลือกไดรว์ C หรือฮัตโนมัติ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น